ฟันเหยิน หรือที่ใครหลายคนรู้จักในชื่อของ ‘ฟันออกปาก’ เป็นหนึ่งในลักษณะของฟันที่ผิดปกติ ซึ่งหากไม่ได้รับการแก้ไขอาจส่งผลต่อคุณภาพชีวิตในระยะยาวได้ แต่หลายคนอาจสงสัยว่าสาเหตุของฟันเหยินเกิดจากอะไร และควรมีวิธีแก้ยังไงให้ฟันกลับมาอยู่ในสภาพปกติ มาหาคำตอบกันได้เลยในบทความนี้
เข้าใจอาการฟันเหยิน
ฟันเหยินเกิดจากอะไร?
ฟันเหยิน (Overjet) เป็นภาวะที่ฟันหน้าด้านบนยื่นออกมาครอบฟันหน้าด้านล่างในช่องปากมากเกินไป ส่งผลให้ฟันสบกันผิดปกติ ทำให้เกิดปัญหาด้านความสวยงามและสุขภาพฟันตามมา ซึ่งสามารถเกิดได้จากปัจจัยหลายประการ ดังนี้
- พันธุกรรม : ฟันเหยินเป็นลักษณะหนึ่งที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมจากรุ่นสู่รุ่น หากพ่อแม่หรือญาติพี่น้องมีอาการฟันเหยิน เด็กที่เกิดมาก็อาจมีความเสี่ยงที่จะฟันเหยินได้เช่นกัน
- พฤติกรรม : พฤติกรรมบางอย่างอาจส่งผลต่อการเกิดฟันเหยิน เช่น การดูดนิ้ว การใช้จุกนมนานเกินไป การกัดเล็บ การกัดปาก และการนอนกรน
- ความผิดปกติของฟัน กล้ามเนื้อ และรูปหน้า : อาการฟันเหยิน ยังสามารถเกิดได้จากความผิดปกติของโครงสร้างของใบหน้าและขากรรไกร เช่น กระดูกขากรรไกรบนยาวเกินไป กระดูกขากรรไกรล่างสั้นเกินไป กระดูกขากรรไกรบนและล่างไม่สบกัน หรือฟันหน้าบนมีขนาดใหญ่กว่าฟันหน้าล่าง เป็นต้น
วิธีการสังเกตอาการฟันเหยิน
อาการฟันเหยินสามารถสังเกตได้จากลักษณะการสบฟันที่ผิดปกติ ที่ส่งผลให้ฟันสบกันไม่สนิท เกิดช่องว่างระหว่างฟัน ซึ่งอาจสังเกตได้จากอาการต่อไปนี้
- อาการพูดไม่ชัด
- เห็นเหงือกขณะยิ้มหรือพูด
- ฟันหน้าบนยื่นออกมามากกว่าฟันหน้าล่าง
- ฟันหน้าล่างหุบเข้าในช่องปากมากเกินไป
- ฟันหน้าบนเกหรือซ้อนกัน
- มุมปากไม่เท่ากัน
- หน้าอูมหรือหน้าสั้น
ฟันเหยินต่างจากอาการฟันซ้อนเกอย่างไร?
อาการฟันเหยินและอาการฟันซ้อนเก เป็นภาวะฟันเรียงตัวไม่ปกติ ซึ่งส่งผลต่อความสวยงามและสุขภาพฟันได้ โดยฟันซ้อนเก เป็นภาวะที่ฟันเรียงตัวไม่ปกติ มีลักษณะเป็นฟันขึ้นซ้อนทับกัน รวมถึงอาจมีอาการฟันยื่น ฟันห่างหรือฟันล้มเอียงร่วมด้วย ในขณะที่ฟันเหยินเป็นภาวะที่ฟันหน้าบนยื่นออกมามากกว่าฟันหน้าล่างหรือฟันหน้าล่างหุบเข้าในช่องปากมากเกินไป ทำให้ฟันสบกันไม่สนิทจนเกิดช่องว่างระหว่างฟัน
ซึ่งทั้งฟันเกและฟันเหยินสามารถรักษาได้ด้วยการผ่าตัดและการจัดฟันในรูปแบบต่าง ๆ (ทั้งการจัดฟันแบบเหล็กและการจัดฟันแบบใส) แต่ทั้งนี้อาจจะต้องดูถึงลักษณะอาการว่าเป็นมากน้อยขนาดไหน เพื่อหาวิธีการรักษาที่เหมาะสมกับผู้ป่วยมากที่สุด
ฟันเหยิน จะส่งผลกระทบอะไรกับเราบ้าง?
- ความมั่นใจ : ปัญหาฟันเหยินที่ทำให้ฟันไม่สบกัน สามารถส่งผลต่อความมั่นใจของเราได้ นอกจากนี้ยังอาจทำให้ออกเสียงได้ไม่ชัดเจน เนื่องจากฟันเรียงตัวไม่สม่ำเสมอ
- ปัญหาสุขภาพ : ปัญหาฟันเหยิน ฟันไม่สบกัน ยังอาจเป็นอุปสรรคต่อการทำความสะอาดฟันอีกด้วย ทำให้เกิดปัญหาฟันผุและโรคเหงือกอักเสบได้ง่าย เนื่องจากฟันเรียงตัวไม่สม่ำเสมอ
- สะสมสิ่งสกปรกในช่องปาก : ลักษณะของฟันเหยิน อาจทำให้มีช่องว่างระหว่างฟัน จึงเป็นแหล่งสะสมของเศษอาหารและแบคทีเรีย เพราะสิ่งสกปรกสามารถเข้าไปติดอยู่ตามร่องฟันได้ง่าย ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อช่องปากและฟันได้
ฟันเหยินแก้ยังไงได้บ้าง?
1. การผ่าตัด
การผ่าตัด เป็นหนึ่งในแนวทางการรักษา ที่สามารถช่วยแก้ปัญหาฟันเหยินได้ แต่ส่วนมากแล้วการรักษาด้วยวิธีนี้ มักจะถูกนำมาใช้กับสาเหตุที่เกิดจากความผิดปกติของฟัน กล้ามเนื้อ และรูปหน้า โดยการผ่าตัดจะช่วยปรับตำแหน่งของกระดูกขากรรไกรให้เหมาะสม เพื่อให้ฟันหน้าบนและฟันหน้าล่างสบกันได้ตามปกติ ทั้งยังช่วยให้ใบหน้าดูสมส่วนและสวยงามยิ่งขึ้นด้วย
ซึ่งหลังจากการผ่าตัด ผู้ป่วยจะต้องนอนพักฟื้นในโรงพยาบาลประมาณ 1 – 2 วัน โดยผู้ป่วยจะต้องใส่เฝือกหรืออุปกรณ์ช่วยพยุงขากรรไกรเป็นเวลาประมาณ 6 – 8 สัปดาห์ เพื่อให้กระดูกขากรรไกรเชื่อมติดกัน
2. การจัดฟัน
การจัดฟัน เป็นวิธีการรักษาฟันเหยินที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ซึ่งในปัจจุบันสามารถจัดฟันได้หลากหลายวิธี แต่วิธีที่ได้รับความนิยมอยู่ในขณะนี้คงจะหนีไม่พ้นการจัดฟันแบบใส เพราะนอกจากจะมอบความสะดวกสบายให้กับผู้จัดฟันแล้ว ยังสามารถถอดอุปกรณ์ได้ง่ายเมื่อต้องกินอาหารหรือแปรงฟัน ทั้งยังสะดวกต่อการใช้ชีวิตอีกด้วย
หากใครที่เลือกจัดฟันด้วยวิธีจัดฟันแบบใส อาจสงสัยว่าลักษณะฟันเหยินจะต้องจัดฟันนานไหม? สำหรับข้อสงสัยนี้อาจตอบได้ว่า โดยปกติแล้วการจัดฟันแบบใส จะมีลักษณะเหมือนการใส่รีเทนเนอร์ จะสามารถใช้รักษาฟันเหยินได้ในระดับน้อยถึงปานกลาง โดยจะใช้เวลาในการรักษาประมาณ 1-2 ปี
แก้ปัญหาฟันเหยิน พร้อมสร้างคุณภาพชีวิตในแบบที่คุณต้องการกับนวัตกรรมจัดฟันแบบใส Clear Aligner ที่ได้รับการจดสิทธิบัตรจาก ClearCorrect เราพร้อมให้บริการด้วยเครื่องมือจัดฟันที่ผ่านการคิดค้นและออกแบบโดยทันตแพทย์ ผลิตและนำเข้าจากสหรัฐอเมริกา ช่วยเคลียร์จบทุกปัญหาฟัน สามารถประเมินการรักษาด้วยตัวเองได้ผ่านเว็บไซต์ หรือสอบถามเพิ่มเติมผ่านทาง Line Official ได้เลยที่ @ClearCorrect (มี @ ด้วย) หรือโทร. 02-109-1234